ปีศาจนักดูดเลือด - ปีศาจนักดูดเลือด นิยาย ปีศาจนักดูดเลือด : Dek-D.com - Writer

    ปีศาจนักดูดเลือด

    รู้แล้ว อ๋อ!!! แน่นอน

    ผู้เข้าชมรวม

    584

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    584

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 ม.ค. 50 / 14:24 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                 บนโลกของเรานี้มีนักล่าอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่หากจะยกตำแหน่งของสุดยอดนักล่าที่มีความน่ากลัวและเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุด ก็เห็นจะหนีไม่พ้นเจ้านักล่าร่างเล็ก ที่โบยบินและใช้ชีวิตอยู่รอบๆ ตัวมนุษย์รวมทั้งได้คร่าชีวิตมนุษย์เราไปมากกว่านักล่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งก็คือ ยุง
      (
      Mosquito)” นั่นเอง
      ยุงนั้นได้ชื่อว่าเป็นเพชฌฆาตจอมโหด เพราะทุก ๆ ปี ผู้คนราว 500 ล้านคนทั่วโลก ต้องได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายที่มียุงเป็นพาหะ และกว่า 3 ล้านคนต้องสูญเสียชีวิตด้วยโรคร้าย
      เหล่านั้น ซึ่งในทุกวันนี้มนุษย์เราได้ทราบแล้วว่า ยุงนั้นเป็นพาหะนำเชื้อโรคกว่า 100 โรค โดย
      ที่หลายชนิดนั้นมีความร้ายแรงมากและเชื้อเหล่านั้นสามารถแพร่ได้ด้วยการกัดเพียงครั้งเดียว

      นับเนื่องจากศตวรรษที่ 17 เมื่อครั้งที่ชายหาดของทวีปอเมริกาถูกรุกราน โดยยุงที่นำพาไข้เหลือง
      จากกาฬทวีปข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (
      Atlantic) มาพร้อมกับเรือขนทาส ยุงเหล่านั้นได้แพร่
      ่กระจายไข้เหลืองไปทั่วทวีปส่งผลให้มีผู้คนต้องล้มตายด้วยไข้ชนิดนี้กันอย่างมากมาย

      ฑูตแห่งความตายอีกชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือ มาเลเรีย (Malaria) ซึ่งแม้ในปัจจุบัน มนุษย์เรา
      ก็ยังไม่สามารถเอาชนะโรคร้ายนี้ได้ รวมถึงไข้ส่า (
      Dengue Fever) หรืออาการไข้ที่มีการปวด
      ข้อต่อและกล้ามเนื้อ ก็กำลังหวนกลับมาสร้างความหวาดกลัวให้กับมวลมนุษย์อีกครั้ง พร้อมทั้งทวี
      ีความรุนแรงขึ้นจนสามารถคร่าชีวิตมนุษย์ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในปีหนึ่ง มีการรายงานถึง
      กรณีของไข้ส่าที่รุนแรงนี้กว่า 10 ล้านคน

      ปีศาจร้ายนักดูดเลือดชนิดนี้ยังคงไม่หมดไป และประเทศที่ยากจนที่สุดในเขตร้อนก็ต้องทนทุกข์
      ทรมานจากการเผชิญหน้ากับเจ้าปีศาจร้ายชนิดนี้มากที่สุด

      การทำความรู้จักกับศัตรูของเรา พร้อมทั้งการศึกษาวัฏจักรชีวิตของยุง การเรียนรู้พฤติกรรมและ
      ชีวิตประจำวันของพวกมันจะช่วยให้มนุษย์เรานั้นสามารถหากลยุทธที่ดีกว่าเดิมในการต่อสู้กับเจ้า
      นักดูดเลือดเหล่านี้ได้

      บางที สถานที่ที่มีความเหมาะสมที่สุดในโลกในการศึกษาแมลงตัวเล็กๆ ที่แสนร้ายกาจชนิดนี้ก็คง
      จะเป็นที่บึง
      เอเวอร์เกลด (Everglade)” แห่งรัฐฟลอริดา (Florida) ที่เปรียบได้กับวิมานของ
      ยุงในการเป็นแหล่งขยายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับบรรดายุง

      นักกีฏวิทยาผู้เชี่ยวชาญเรื่องยุง ฟิล ลูนิบอส (Phil Lounibos) พร้อมผู้ร่วมทีมสำรวจ มุ่งหน้า
      ไปที่ทุ่งหญ้าแพร์รี่ (
      Prairie) ริมชายฝั่งในเมืองฟลามิงโก (Flamingo) สถานที่ที่อาจจะกล่าวได้
      ้ว่า มีประชากรยุงมากที่สุดในโลก ในเวลาหนึ่งนาที ยุงอาจจะเข้ามาตอมได้มากถึง 500 ตัว ภายใน
      ระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ไม่กี่นาที ผู้มาเยือนก็ได้ให้อาหารยุงไปแล้วห้าพันถึงหกพันตัว

      ยุงมิได้เป็นเพียงพาหะของโรคร้าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยุงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่เป็นพาหะ
      นำโรค หากแต่อานุภาพในด้านการกัดที่รุนแรง และการทำตัวเป็นที่น่ารำคาญก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
      เหล่าแมลงนักล่าโลหิตชนิดนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างน่าทึ่ง ยุง
      อยู่ได้ในเกือบทุกสภาพแวดล้อมทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นก็แต่เพียง ทวีปแอนตาร์กติกา (
      Antarctica)
      โดยอาศัยปัจจัยที่สำคัญต่อความอยู่รอด อย่างเช่น ความร้อน อาหาร และที่สำคัญยิ่งเหนือสิ่งอื่นใด
      ก็คือ น้ำนิ่งขังที่จำเป็นต่อการขยายพันธุ์จากความพยายามในการค้นคว้า มนุษย์เราได้เห็นถึงการ
      สืบพันธุ์ การปรับตัว และวิวัฒนาการของยุงที่ส่งผลให้มียุงมากถึง 3
      ,500 สายพันธุ์ และในแต่ละปี
      ก็มีการค้นพบเพิ่มขึ้นอีกราวๆ 20 สายพันธุ์ ซึ่งบ้างก็มีลายขาวดำ บ้างก็มีสีทอง ด้วยขนาดของลำตัว
      ที่มีตั้งแต่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร จนถึง 2 เซนติเมตรด้วยการเป็นสมาชิกของวงศ์แมลงวัน จึงทำให้ยุง
      มีลักษณะที่สำคัญเหมือนๆ กับแมลงวัน ซึ่งก็ได้แก่ ปีก 1 คู่ และขา 6 ขา ที่ช่วยให้ยุงเป็นนักล่าจอม
      พรางตัว สามารถเคลื่อนตัวได้ว่องไวทั้งกลางอากาศ ไปจนถึงบนท่อนแขน อีกทั้งยังนิ่มนวลเสียจน
      เราไม่ทันสังเกต และก็พร้อมที่จะบินหนีไปได้ทุกทางด้วยปีกที่ปกคลุมด้วยเกล็ดเรียงกัน ที่สามารถ
      กระพือได้เร็วถึง 600 ครั้งต่อวินาที มากกว่านกฮัมมิ่งเบิร์ด (
      Humming – Bird) ถึง 10 เท่า
      นี่คือต้นเหตุของเสียงหึ่งๆ ที่เรามักจะได้ยินเมื่อยุงบินผ่านเราไป

      ยุงทุกตัวต้องการเพียงน้ำหวานจากพืชเพื่อการยังชีพ แต่จะมีก็เพียงยุงเพศเมียเท่านั้นที่มีความ
      กระหายเลือดด้วยเหตุผลในการสืบพันธุ์ เพราะเลือดคือแหล่ง (
      Protein) ที่สำคัญสำหรับการ
      พัฒนาของไข่ ดังนั้นก่อนการกินเลือดเป็นมื้อแรก เพศเมียจะทำการผสมพันธุ์เสียก่อน จากนั้นจึง
      มองหาเหยื่อ ด้วยระบบตรวจจับอันเยี่ยมยอดที่ได้วิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย
      ดวงตาขนาดใหญ่ที่มีเลนส์ขนาดจิ๋วนับร้อย งวง ที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ระยะสั้น คล้ายๆ กับจมูก
      และเสาอากาศที่เป็นเซ็นเซอร์ระยะไกล สามารถตรวจจับความร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
      (
      Carbon Dioxide) รวมทั้งกรดแลคติค (Lactic Acid) ที่มนุษย์และสัตว์อื่นๆ ส่งออกมา
      ภายนอกลำตัวหลังจากที่ยุงตัวเมียลงเกาะบนร่างเหยื่ออย่างแผ่วเบาแล้ว ปีศาจนักดูดเลือดชนิดนี้
      ี้ก็จะเริ่มมองหาอาหาร พร้อมกันนั้นเครื่องมือผ่าตัดที่ซับซ้อน อันประกอบด้วยเลื่อย รวมทั้งอุปกรณ์
      ดูดเลือดต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่ที่ งวง หรือแนวปากบน โดยกินความยาว 1 ใน 3 ของร่างกายก็จะเริ่ม
      การดำเนินการทันที งวง จะมีปลอกที่คอยปกป้องอยู่ ภายในมีเลื่อยขนาดจิ๋ว 4 อัน โดยที่สองอันจะ
      เป็นเลื่อยฟันหยัก และมีความคมเท่ากับมีดผ่าตัดเลยทีเดียว ยุงจะเจาะเข้าไปในผิวหนังของเหยื่อ
      เพียงเสี้ยวเซนติเมตร เพื่อค้นหาเส้นเลือด ในระหว่างการค้นหา ปีกส่วนล่างจะพับกลับ และเมื่อเจาะ
      ผ่านผนังเส้นเลือดแล้ว น้ำลายของยุงจะไหลไปตามท่อแคบลงไปสู่บริเวณนั้น ปั๊มสองอันที่หลังหัว
      จะหดและขยายตัว เพื่อดูดเลือดผ่านงวงขึ้นมาและผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งโดยมากยุง
      จะได้รับผลตอบแทนจากกระบวนการดังกล่าวเพียงหนึ่งในพันกรัม แต่เพศเมียจะพยายามดื่มให้
      ้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ระหว่าการดื่มกิน พวกมันจะขับน้ำที่ไม่ต้องการออกมา ด้วยการปล่อยหยด
      น้ำเล็กๆ เพื่อสร้างพื้นที่ให้โปรตีนเพิ่มมากขึ้น

      ถึงแม้ว่าร่างกายมนุษย์จะมีกลไกป้องกันการเสียเลือดจากอาการบาดเจ็บ แต่เคล็ดลับของเหล่ายุงก็คือ
      น้ำลาย ที่ส่งผลให้เส้นเลือดไม่ปิด รวมถึงการที่เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งทำให้ไหลเข้าสู่ยุงได้อย่างอิสระ
      นอกจากนี้ผลร้ายจากน้ำลายดังกล่าวก็ยังทำให้มนุษย์เกิดอาการแพ้ เกิดเป็นตุ่มคัน และสิ่งที่น่ากลัว
      ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือ การที่เชื้อโรคได้ถูกส่งผ่านน้ำลายเหล่านั้นเข้ามาในร่างกายมนุษย์ด้วย ไม่
      ่ว่าจะเป็น มาเลเรีย (
      Malaria) ไข้สมองอักเสบ ไข้เหลือง (Yellow Fever) ไข้เลือดออก
      (
      Hemorrhagic Fever) หรือไข้ส่า (Dengue Fever)

      ผ่านระยะเวลามานานกว่า 50 ล้านปี เจ้าเพชฌฆาตจอมกระหายเลือดนี้ก็ยังคงอยู่รอดมาได้จนถึง
      ปัจจุบัน อีกทั้งยังเต็มไปด้วยปริศนาอันเร้นลับอีกมากมาย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×